คำถามที่พบบ่อย

 

ส่งของไปต่างประเทศเสียค่าภาษีมั้ย

สำหรับการส่งออกจากประเทศไทย 99% ไม่เสียภาษีในการส่งออก แต่สำหรับผู้รับปลายทางอาจจะต้องชำระภาษีศุลกากรขาเข้าที่ประเทศปลายทางหากกฎหมายของประเทศนั้น ๆ มีการเก็บภาษี อัตราภาษีขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและมูลค่าของสินค้าหรือราคากลางจากศุลกากรปลายทาง

ของที่ส่งมาจากต่างประเทศ จะต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง

ของที่ส่งมาจากต่างประเทศ (ของขาเข้า)  ส่วนมากจะมีอากรขาเข้าด้วยยกเว้นสินค้าที่ได้รับการยกเว้นจากศุลกากร หรือมีเอกสารสิทธิประโยชน์ต่างๆแนบ เช่น ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าบางประเภท โดยคิดอัตราอากรขาเข้าจากมูลค่าของสินค้า(CIF)ตามเอกสารที่แนบ (Invoice) ภาษีมูลค่าเพิ่มและอาจจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆอีก เช่น ค่าเคลียร์ ค่าแลกรับเอกสาร หรือ หลักฐานเพื่อเคลียร์ ค่าเก็บรักษาสินค้า ที่เกิดขึ้นกับสายการบิน สายเรือและศุลกากร

ของน้ำหนักน้อย ส่งทางเรือได้ไหม

ส่งได้แต่ต้องดูความเหมาะสม เพราะทางเรือมีค่าใช้จ่ายอื่นๆอีก เช่น ค่าเดินพิธีการส่งออก ลงทะเบียนส่งออก ค่ารถ ค่าตีลังไม้ และค่าธรรมเนียมต่างๆ  ณ ท่าเรือ ฯลฯ

การคิดราคา คิดอย่างไร และ Volume กล่องคืออะไร

การคำนวณน้ำหนัก จะเปรียบเทียบระหว่างน้ำหนักปริมาตร (Dimension Weight หรือ Volume Weight) และน้ำหนักจริง (Actual Weight) ถ้าน้ำหนักไหนมากกว่า จะคิดอัตราค่าขนส่งจากน้ำหนักที่มากกว่านะคะ

Volume คือ การคำนวณค่าขนส่ง จากขนาดของกล่องที่บรรจุสินค้า โดยวิธีการคิดสูตรคำนวณ น้ำหนักปริมาตร (Dimension Weight)
แบบ Courier Door to Door คือ กว้าง X ยาว X สูง (เซนติเมตร)/5,000 = Kg.
แบบ Air Freight กว้าง X ยาว X สูง (เซนติเมตร)/6,000 = Kg.
แบบ Sea Freight  กว้าง X ยาว X สูง (เซนติเมตร)/1,000,000 = CBM

 

การส่งของไปต่างประเทศมีแบบไหน ยังไงบ้าง

ส่งของ ส่งสินค้าไปต่างประเทศ มีดังนี้ค่ะ

ทางอากาศ Courier  คือส่งแบบ Door to Door เป็นการให้บริการรับสินค้าที่บ้านหรือบริษัทลูกค้า และนำส่งถึงบ้านหรือบริษัทลูกค้าที่ปลายทาง ตามที่อยู่ที่กำหนด พร้อมทั้งสามารถติดตามสถานะการขนส่งแบบออนไลน์ได้ 24 ชั่วโมง จากหมายเลข AWB ที่ทางบริษัทให้กับลูกค้า เพื่อใช้ติดตามสถานะการขนส่งพัสดุทางเว็ปไซต์

ทาง Air Freight  คือการส่งทางอากาศ ที่ต้องเดินพิธีการส่งออก มีทั้งส่งถึงสนามบินปลายทางและส่งถึงที่อยู่ผู้รับ เหมาะสำหรับของที่น้ำหนักเยอะ

ทาง Sea Freight  คือการส่งทางเรือ ที่ต้องเดินพิธีการส่งออก มีทั้งส่งถึงแค่ท่าเรือปลายทาง และส่งถึงที่อยู่ผู้รับ เหมาะสำหรับของที่ปริมาตรขนาดใหญ่ และจำนวนเยอะ  โดยการขนส่งทางเรือ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1) ขนส่งทางเรือแบบไม่เต็มตู้ LCLเป็นการขนส่งแบบรวมตู้กับลูกค้าท่านอื่น   จึงต้องมีการแพ็คกิ้งอย่างดีคิดราคาเป็นคิวบิกเมตร โดยคำนวณจาก Cubic Meter (CBM) = กว้าง x ยาว x สูง (ซม) / 1,000,000

2) ขนส่งทางเรือแบบเต็มตู้ FCL

เป็นการขนส่งแบบลูกค้าเหมาตู้ไปเองคนเดียว

คิดราคาตู้ขนาด 20″feet ( ประมาณ 28-32 CBM) , 40″feet ( ประมาณ 56-64 CBM) , 40 HQ  ( ประมาณ 64-72 CBM)

สามารถมารับของที่ต่างจังหวัดเพื่อส่งต่างประเทศได้หรือไม่

ในปัจจุบันเราสามารถไปรับของให้ท่านที่ต่างจังหวัดได้เฉพาะการขนส่งทางสินค้าทางเรือและสินค้าทางเครื่องบิน (Air cargo) แต่ยังไม่สามารถให้บริการได้สำหรับสินค้าเร่งด่วนทางเครื่องบิน (Door to Door) ดังนั้นหากท่านมีสินค้าส่งแบบเร่งด่วน ท่านสามารถทำได้ 2 ทางดังนี้ 1) ส่งของมาให้บริษัทเราที่สำนักงานใหญ่กรุงเทพฯ และเราจะดำเนินการทำส่งออกให้หลังจากได้รับสินค้า  2) ตรวจสอบกับทางเราว่าเรามีบริการรับ ณ จังหวัดของท่านหรือไม่

จะเช็คและคิดราคาอย่างไร กิโลละเท่าไหร่

สำหรับการส่งสินค้าเร่งด่วนแบบ Door to Door จะคิดราคาตามน้ำหนักและประเทศปลายทางสำหรับน้ำหนักนั้นจะต้องมีการเปรียบเทียบน้ำหนักจริงกับปริมาตรขนาดสินค้า ซึ่งปริมาตรคำนวณได้โดยการนำขนาดที่แพ็คเรียบร้อยแล้วเป็นเซ็นติเมตร (กว้าง x ยาว x สูง) / 5,000 แล้วเอาผลลัพธ์ที่ได้มาเทียบกับน้ำหนักจริงน้ำหนักตัวไหนสูงกว่าจะใช้น้ำหนักนั้นในการคำนวณราคา สำหรับที่อยู่ปลายทางในบางพื้นที่อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเช่นพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งธุรกิจดังนั้นรบกวนท่านเตรียมชื่อเมืองและรหัสไปรษณีย์ปลายทางเพื่อตรวจสอบกับลูกค้าสัมพันธ์ของเราเพื่อทราบค่าใช้จ่ายที่แน่นอน ก่อนการเรียกรับงาน

สำหรับการขนส่งแบบ Air Cargo การคำนวณน้ำหนักคล้ายกับแบบส่ง door to door แต่ปริมาตรจะหารด้วย 6,000 โดยส่วนมากลูกค้าที่นิยมส่งแบบ Air Cargo จะส่งถึงสนามบินปลายทางเท่านั้น ดังนั้นราคาจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสนามบินปลายทาง ท่านจะต้องสอบถามผู้รับสินค้าว่าต้องการให้สินค้าไปลงที่สนามบินไหน สายการบินส่วนใหญ่มีราคาพิเศษให้ตั้งแต่ 45 กิโลขึ้นไปถ้าน้อยกว่านั้นจะเป็นราคาที่ค่อนข้างสูง

การส่งของทางเรือคิดราคาจากปริมาตรเป็นหลัก (โดยส่วนมาก 1 ลูกบาศก์เมตรจะให้ได้น้ำหนักไม่เกิน 1000 กิโลกรัมหรือ 1 ตันยกเว้นบางประเทศหรือบางสายเรือที่อาจจะให้ไม่ถึง 1 ตัน) การคำนวณราคาเริ่มต้นที่ 1 ลูกบาศก์เมตรแต่ถ้าของหรือสินค้าของท่านเกิน 15 ลูกบาศก์เมตร เราแนะนำให้ท่านเลือกส่งเป็นตู้คอนเทนเนอร์ได้เลยซึ่งมีทั้งขนาด 20 ฟุตและ 40 ฟุต และคล้ายกับแอร์คาร์โก้ การส่งของทางเรือส่วนมากลูกค้าจะส่งไปถึงแค่ท่าเรือปลายทางเพราะฉะนั้นราคาจะแตกต่างกัน ดังนั้นรบกวนสอบถามท่าเรือที่ต้องการจากทางลูกค้าปลายทาง ระยะเวลาส่งประมาณ 15-60 วัน

เป็นบริษัท DHL หรือเปล่า ?

เราไม่ใช่บริษัท DHL เราเป็นตัวแทนของบริษัท DHL ซึ่งเราได้รับราคาพิเศษจากทาง DHL แต่ท่านสามารถส่งกับเราเพื่อให้เรานำส่ง DHL ได้ในราคาประหยัด และเรามีทีมงานที่คอย ควบคุมการทำงานและติดตามสถานะการนำส่งของ DHL ให้ท่าน

จะส่งของไปต่างประเทศต้องให้ข้อมูลอะไรบ้าง

ถ้าน้ำหนักเท่านี้ส่งทางไหนดี

เพราะอะไรต้องมีการตีลังไม้

สำหรับของที่มีโอกาศแตกหัก เสียหายง่าย ถ้านำใส่กล่องกระดาษอย่างเดียว อาจจะไม่เพียงพอให้ขนส่งอย่างปลอดภัย
หรือในกรณีส่งทางเรือแบบไม่เต็มตู้ สินค้าของเรา จะปะปนกับสินค้าของผู้อื่นและอาจเกิดความเสียหายได้ง่าย จึงแนะนำให้ตีลังไม้

หรือในกรณีที่สินค้ามีหลายชิ้น แล้วไม่ต้องการให้สินค้ากระจัดกระจายอยู่ในตู้ ซึ่งอาจจะเสี่ยงต่อการสูญหายและเสียหาย ซึ่งในกรณีนี้ ท่านอาจจะเลือกเป็นการตีลังหรือการวางบนพาเลทและห่อหุ้มด้วยพลาสติก

Remote area คืออะไร

สำหรับการขนส่งแบบทางเครื่องบินแบบเร่งด่วน (Door to Door) ที่อยู่ผู้รับปลายทางที่อยู่นอกเมืองหรือพื้นที่ห่างไกลจากพื้นที่ให้บริการปกติ ซึ่งเรายังให้บริการจัดส่งแต่จำเป็นต้องมีค่าบริการเพิ่มเติมคือค่านอกพื้นที่หรือ Remote Area Charge

ส่งของจำเป็นต้องเดินพิธีการไหม ?

ท่าท่านเลือกการส่งสินค้าแบบเร่งด่วน (Door To Door) ท่านไม่จำเป็นต้องเดินพิธีการศุลกากร แต่ถ้าท่านเลือกส่งสินค้าทางเครื่องบินแบบธรรมดาหรือ Air cargo หรือการส่งสินค้าทางเรือท่านจำเป็นจะต้องเดินพิธีการศุลกากรก่อนการส่งออก ซึ่งสามารถเดินพิธีการศุลกากรได้ทั้งบุคคลและบริษัท

ส่งของต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

้ด้ดดก

เดินพิธีการคืออะไร

เดินพิธีการ คือการดำเนินพิธีการศุลกากรหรือการเคลียร์ของ การเคลียร์สินค้าที่นิยมพูดกัน ซึ่งการเดินพิธีการนั้นเป็นข้อกำหนดของศุลกากรว่าเมื่อท่านต้องการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ ท่านจะต้องยื่นเอกสารกับศุลกากรอย่างเป็นทางการทุกครั้งซึ่งขั้นตอนต่าง ๆ ในการยื่นเอกสารกลับศุลกากรนั้นมีกระบวนการหลายขั้นตอนหลายแผนกและเอกสารอีกมากมาย เราจึงมีบริการในการกระทำแทนท่านโดยผู้ชำนาญการที่มีประสบการณ์ตรงกับศุลกากร ทั้งที่สนามบินสุวรรณภูมิ ท่าเรือคลองเตยและแหลมฉบัง เอกสารที่เกี่ยวข้องเช่น ท่านจะต้องลงทะเบียนกับศุลกากร (Add paperless) ก่อนเพื่อให้ได้เลขทะเบียน และท่านจะต้องเตรียมเอกสารรายการสินค้า (Invoice and Packing List)

ค่า EDI คืออะไร

EDI มาจาก Electronic Data Interchange ซึ่งหมายถึง ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่เรียกใช้ในการส่งข้อมูลให้กับศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งทางศุลกากรตั้งขึ้นเมื่อเริ่มใช้ระบบนี้ หมายถึงการส่งข้อมูลต่าง ๆ ในเรื่องการส่งสินค้าเช่นข้อมูลใบขนสินค้าทั้งขาเข้าหรือขาออกข้อมูลมูลค่าของข้อมูลต่างๆที่ศุลกากรต้องการเพื่อให้เข้าระบบศุลกากร โดยจะมีบริษัทที่รับส่งข้อมูลนี้ให้บริการโดยคิดค่าธรรมเนียม ประมาณ 300-500 บาทต่อ 1 รายการ ส่วนใหญ่จะมีเมื่อนำพัสดุขาเข้า ทางช่องทางเร่งด่วนแบบ Door to Door

Add paperless คืออะไร

Add Paperless  คือระบบงานแบบไร้เอกสารซึ่งทางศุลกากรพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นในการเดินพิธีการศุลกากร ทำให้มีการเปลี่ยนระบบจากเอกสารทั้งหมดเป็นยื่นเอกสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออกที่ต้องการดำเนินพิธีการศุลกากรไม่ว่าจะในนามบุคคลหรือนิติบุคคลก็ตาม จำเป็นจะต้องลงทะเบียนกับศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์เสียก่อนซึ่งจะทำการลงทะเบียนแค่ครั้งเดียวแต่ในกรณีที่ 6 เดือนย้อนหลังไม่มีการเดินพิธีการศุลกากรก็จำเป็นจะต้องต่อทะเบียนใหม่กับศุลกากรอีกครั้งหนึ่ง การลงทะเบียนนี้จึงเรียกกันทั่วไปอย่างสั้น ๆ ว่า Add Paperless เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นเมื่อท่านต้องการ นำเข้า-ส่งออก ทางเครื่องบินหรือทางเรือ